วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ใบงานที่ 6 : โครงงานคอมพิวเตอร์

ใบงานที่ 5 : ความหลากหลายทางชีวภาพของไบโอมทุนดรา

ไบโอมทุนดรา

ทุนดรา ( tundra ) หรือ ภูมิอากาศแบบอาร์กติก Arctic climate หรือ ทุ่งหิมะแถบขั้วโลก
เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้แถบขั้วโลก ที่หนาวเย็น เช่น สภาพภูมิประเทศมักจะเป็นที่ราบมีหนองน้ำกระจายเป็นแห่งๆ มีฝนตกน้อยกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี เช่นเดียวกับ แถบทะเลทราย อุณหภูมิจะต่ำ มีอาณาเขตตั้งแต่เส้นรุ้งที่ 60 เหนือขึ้นไปจนถึงขั้วโลกเป็นบริเวณหนาวเย็น ท ี่มีหิมะปกคลุมเกือบตลอดปี 
ช่วงฤดูร้อน ซึ่งเป็นช่วงสั้นๆประมาณ 2-3 เดือน อุณหภูมิในฤดูร้อนเฉลี่ยต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส
ช่วงในฤดูหนาว อากาศหนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยราว – 30 องศาเซลเซียส ยาวนานกว่า 6เดือน ฝนตกน้อย ปริมาณหยาดน้ำฟ้าประมาณ 500 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของหิมะ
เขตทุนดรา ได้แก่ ทางตอนเหนือของแคนาดา พื้นที่ของรัฐอลาสก้า ยุโรปและไซบีเรีย พื้นที่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอาร์คติก
ในฤดูร้อนพื้นดินและพื้นน้ำจะสลับกันเป็นลวดลายสวยงาม ชุมชนแบบทุนดราเป็นชุมชนแบบง่ายไม่ยั่งยืนและไม่สมดุล เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นจึงทำให้มีอัตราการระเหยต่ำ
การสลายตัวของธาตุอาหารเกิดอย่างช้าๆทำให้ค่อนข้าง ขาดแคลนอาหาร แม้สภาพแวดล้อมจะไม่ค่อยเหมาะสม แต่สิ่งมีชีวิตก็สามารถปรับตัวให้อยู่รอดได้ พืชมีอายุการเจริญสั้นเพียงแค่ 60 วัน


เขตป่าทุนดรา
พืชชนิดเด่น ได้แก่ ไลเคนส์ กก
นอกจากนี้ยังมีมอส หญ้าเซดจ์ 
และไม้พุ่มเตี้ย เช่น วิลโลแคระ
ไลเคน
หญ้าเซดจ์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พืชในไบโอมทุนดรา

จิ้งจอกขาว
เลมมิ่ง
Muskox สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่ใช้ชีวิตแถบนี้มานับพันปี อยู่รวมกันราวๆ 30 ตัว ซึ่งมีจ่าฝูงเป็นตัวเมีย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จิ้งจอกขาว

กระต่ายป่าอาร์กติก
Tundra Swan ห่านทุนดรา
คาริบู (Caribou)
ญาติสนิทของเจ้ากวางเรนเดียร์ของซานต้า
Snowy Owl 
หมีขั้วโลก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สัตว์ในไบโอมทุนดรา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สัตว์ในไบโอมทุนดรา

CR : https://prezi.com/tqgkclbquulw/copy-of/

ใบงานที่ 4 : คลังข้อสอบ8

8 เคล็ดลับอ่านหนังสือยังไงให้จำเร็วและแม่น



1. อ่านหน้าสรุปก่อน
อ่านตอนจบก่อนเลย ผู้เขียนหนังสือส่วนใหญ่ชอบเขียนให้ดูลึกลับ ชักแม่น้ำทั้งห้า เขียนอธิบายอย่างละเอียดยิบ ใช้ประโยคที่ต้องอ่านซ้ำสองสามรอบถึงจะเข้าใจ โดยเฉพาะในหน้าแรก ๆ ของบท เราไม่จำเป็นต้องรู้ประวัติชีวิตของผู้เขียน บทนำ ซึ่งจะเป็นการเขียนเกริ่นแนะนำให้อ่านต่อไปเรื่อย ๆ ซะเป็นส่วนใหญ่
ในทางกลับกัน บทส่งท้าย หรือบทสรุป เป็นสิ่งที่ต้องอ่าน โดยปกติแล้วจะเป็นส่วนที่ผู้เขียนสรุปข้อมูลทั้งหมดที่ได้กล่าวมา อีกทั้ง หากเราอ่านบทสรุปก่อน แล้วกลับมาอ่านหน้าแรกอีกครั้งก็ทำให้เราสามารถอ่านได้เข้าใจมากขึ้น แม้กระทั่งในเวลาที่ต้องอ่านหนังสือก่อนเพื่อไปเรียนในคาบถัดไป การอ่านส่วนบทสรุปก็ทำให้เราเห็นภาพคร่าวๆของเนื้อหาที่ต้องเรียนแล้ว
2. ใช้ปากกาไฮไลต์เพื่อนเน้นใจความสำคัญ
ข้อผิดพลาดที่หลายคนทำ คือการเลิกไฮไลต์ เนื่องจากครูผู้สอนกล่าวถึงแทบทุกอย่างในหน้าหนังสือ เลยไฮไลต์ตาม ปรากฏว่าไฮไลต์ไปหมดทั้งหน้า ซึ่งกลายเป็นการกระทำที่ไม่เกิดประโยชน์ไป จึงขี้เกียจไฮไลต์อีก และเลิกทำไปในที่สุด
ความจริงแล้ว การไฮไลต์ข้อความนั้นมีประโยชน์มาก “หากใช้อย่างถูกวิธี” ไม่ควรไฮไลต์ทุกอย่างในหน้า และไม่ควรไฮไลต์น้อยจนเกินไป สิ่งที่ควรทำคือการไฮไลต์ข้อความที่ผู้เขียนกล่าวสรุป โดยปกติแล้วผู้เขียนมักจะกล่าวประเด็นซ้ำไปมาหลายหน้าและให้ข้อมูลสรุปประเด็นที่ย่อหน้าสุดท้าย ให้ไฮไลต์บริเวณนั้น เมื่อเราเปิดหนังสือมาอ่านอีกครั้ง เราจะสามารถทราบทุกอย่างที่จำเป็นต้องรู้ด้วยการมองเพียงแวบเดียว
3. ดูสารบรรณและหัวข้อย่อย
นักศึกษาที่เรียนในมหาวิทยาลัยมักประหลาดใจเมื่อทราบข้อนี้ว่า อาจารย์ส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยนั้น ไม่ได้อ่านหนังสือจนจบเล่ม แต่สิ่งที่พวกท่านทำนั้น คือการดูสารบรรณและอ่านหัวข้อที่น่าสนใจหรือเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่จะทำเท่านั้น หรือไม่ก็ใช้วิธีการ อ่านผ่านๆอย่างรวดเร็ว (skimming) จนเมื่อเจอหัวข้อที่น่าสนใจจึงค่อยหยุดอ่านอย่างตั้งใจ ทำให้การอ่านั้นไม่น่าเบื่อ เพราะว่าเราจะได้อ่านสิ่งที่เราสนใจจริง ๆ เท่านั้น
และยังทำให้เรารู้ใจความสำคัญของสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้อยู่ดี เพราะผู้เขียนมักจะกล่าวถึงประเด็นสำคัญซ้ำ ๆ ในทุกส่วนของหนังสือ เทคนิคนี้ช่วยป้องกันอาการ “ตามองอ่านตัวหนังสือทุกบรรทัด แต่ใจความไม่เข้าหัวเลย” อ่านออกแต่สมองไม่ตอบรับว่าสิ่งที่อ่านไปนั้นคืออะไร เพราะเกิดจากการอ่านสิ่งที่เราไม่อยากอ่านนั่นเอง

4. ขวนขวายกันสักนิด
แทนที่จะซึมซับทุกอย่างจากการอ่านหนังสือที่อาจารย์สั่งเท่านั้น ลองเปิดโลกใหม่ดูบ้าง หาหนังสือเล่มอื่นๆ ในห้องสมุด หรือในอินเตอร์เน็ตก็มีเยอะแยะไปที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียนมาอ่านดู ซึ่งหนังสือบางเล่มพูดถึงเล่มเดียวกันแต่เขียนได้น่าอ่าน อ่านเข้าใจง่าย มีภาพประกอบเพิ่ม สรุปแบบอ่านแล้วเข้าใจ ซึ่งจริง ๆ เนื้อหาก็เรื่องเดียวกับที่เรียนในห้อง
แต่ขึ้นชื่อว่าหนังสือเรียนก็รู้ๆ กันอยู่อ่านไปหลับไปเป็นธรรมดา ดังนั้นการหาความรู้ข้างนอกมาเสริมจะช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่เรียนได้ง่าย และเข้าใจมากขึ้น บางทีอาจรู้ลึกกว่าที่เรียนในคาบเสียอีกนะ หนังสือประวัติศาสตร์ไทย ที่มีอยู่ในห้องสมุดอาจจะอ่านแล้วสนุกน่าอ่านกว่าหนังสือที่ใช้เรียนอยู่ก็ได้ การอ่านไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้สนุกได้โดยอัตโนมัติ หากเราไม่มองหาสิ่งที่เราอยากอ่านจริง ๆ เสียก่อน การอ่านจะกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อสำหรับเราไป
5. พยายามอย่าอ่านทุกคำ
หลายคนคิดว่าการอ่านทุกคำจะช่วยให้จดจำข้อมูลได้อย่างละเอียดยิบ ความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะสมองจะได้รับข้อมูลมากเกินไปและเกิดความล้า เบื่อหน่ายจนตาลอยอ่านหนังสือไม่เข้าหัวในที่สุด
ที่เป็นเช่นนี้เพราะหนังสือที่ไม่ได้อยู่ในประเภทนิยายมักจะถูกเขียนอธิบายซ้ำ ๆ เพราะผู้เขียนต้องการจะกล่าวอธิบายให้กระจ่าง แต่ใจความสำคัญจริง ๆ แล้วอยู่ที่บทสรุปเพียงไม่กี่ย่อหน้า หนังสือส่วนใหญ่ใส่ข้อมูลหลักฐานจนแน่นมากกว่าจะกล่าวถึงประเด็น ซึ่งก็เป็นเรื่องดีและน่าสนใจ แต่ทุกหลักฐานที่อ้างนั้นก็กล่าวถึงประเด็นเดียว การอ่านเพิ่มเติมก็เป็นการย้ำถึงประเด็นเดิม ดังนั้นเลือกหลักฐานที่น่าสนใจที่สุดแล้วอ่านบทต่อไปเถอะ
แม้แต่หนังสือประเภทนวนิยายก็อาจทำให้เราเบื่อได้เช่นกัน ในบางตอนที่ผู้เขียนอธิบายฉากอย่างละเอียดยิบ ให้ใช้วิธีการอ่านผ่าน ๆ (skimming) จนกว่าจะเจอฉากที่น่าสนใจและอ่านอย่างตั้งใจอีกครั้ง การทำเช่นนี้อาจจะทำให้พลาดส่วนสำคัญบางอย่างไป แต่ก็ทำให้เราอ่านต่อไปได้มาก ดีกว่าเบื่อและหยุดอ่านไป
6. เขียนสรุปมุมมองของผู้อ่าน
อดทนหน่อยอย่าเพิ่งเบื่อ! คนส่วนใหญ่ไม่ชอบการเขียน แต่การเขียนนั้นเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการรวบรวมข้อมูลสำคัญในระยะเวลาอันสั้น หากเป็นไปได้ให้เขียนใจความสำคัญในแบบฉบับของเราใน 1 หน้ากระดาษ โดยพูดถึงประเด็นที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ ยกตัวอย่างสั้น ๆ และคำถามหรือความรู้สึกของเราที่ต้องการการค้นคว้าเพื่อหาคำตอบต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
การเขียนมุมมองของผู้อ่านเช่นนี้ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราทราบถึงประเด็นสำคัญของหนังสือเช่นเดียวกับการไฮไลต์ข้อความ เมื่อใกล้ถึงช่วงสอบ จะเป็นการง่ายกว่าที่เราจะนั่งอ่านมุมมองสรุปของผู้อ่าน แทนที่จะพลิกตำราอ่านหนังสือทั้งเล่มเพื่ออ่านทบทวนอีกครั้ง หากเป็นหนังสือภาษาอังกฤษ เราสามารถอ่านรีวิวหนังสือจากผู้อ่านคนอื่น ๆ ในเว็บไซต์ เช่น Amazon เป็นการเสริมข้อมูลในมุมมองของผู้อ่านท่านอื่น ๆ ที่ได้รับจากหนังสือเล่มนั้นเช่นกัน

7. อภิปรายกับผู้อื่น
คนส่วนมากไม่ชอบการทำงานกลุ่ม แต่การจับกลุ่มกันพูดถึงเนื้้อหาของหนังสือที่ต้องอ่านข่วยทำให้เราจำได้ง่ายขึ้น บางครั้งอาจพูดถึงหนังสือในแง่ตลก ๆ ก็จะทำให้เราจำประเด็นนั้นได้เมื่อเราอยู่ในห้องสอบ เพราะเราจะคิดถึงเรื่องตลกก่อน เป็นการใช้หลักการเชื่อมโยงข้อมูลที่ทำให้สมองของเราทำงานได้ง่ายขึ้น
การพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือที่อ่านช่วยทำให้เราได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากบางส่วนที่เรามองข้ามไป บางคนนั้นชอบเรียนรู้โดยการฟัง และมักจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อได้ยินข้อมูล ดังนั้นการพูดคุยสนทนาถกเถียงประเด็นที่อยู่ในหนังสือจะทำให้เราจำประเด็นสำคัญนั้นได้ดีเมื่อได้ฟังผ่านหู ทำให้เราสามารถระลึกถึงข้อมูลส่วนนั้นได้เมื่ออยู่ในการสอบ
8. จดคำถามข้อสงสัยที่เกิดขึ้นระหว่างการอ่าน
หัวใจหลักของเทคนิคนี้ คือการตั้งคำถาม อย่าเชื่อว่าผู้เขียนนั้นเขียนได้ถูกต้องซะทีเดียว ให้จดจ่อกับสิ่งที่อาจและใช้ความคิดเชิงวิเคราะห์ในการอ่าน เช่น
  • ทำไมผู้เขียนจึงกล่าวเช่นนั้น?
  • หลักฐานคำอธิบายนี้เป็นจริงหรือ?
  • ประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับข้อโต้แย้งของผู้เขียนอย่างไร?
  • ผู้เขียนต้องการสื่อข้อความนี้ให้แก่ใคร?
คำถามอาจซับซ้อนกว่านี้หรือง่ายกว่านี้ ขึ้นอยู่กับหนังสือที่อ่าน เคล็ดลับเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เราอ่านหนังสือและจดจำได้เป็นอย่างดี แต่แน่นอนว่าอาจจะมีวิธีที่หลากหลายกว่านี้ แต่ละวิธีก็อาจให้ผลลัพธ์แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าใครชอบวิธีไหน
กล่าวโดยสรุปก็คือ เราต้องกระตือรือร้นในการอ่าน ค้นหาสิ่งที่อยากอ่าน และทุ่มเทสักหน่อย และจดจำประเด็นสำคัญ หากทำได้เช่นนี้รับรองว่าหนังสือร้อยหน้าก็อ่านจบได้ในเวลาแค่แป๊บเดียวเท่านั้นเองจ้ะ

CR : http://teen.mthai.com/education/79713.html


☻คลังข้อสอบ☻

ข้อสอบเก่า O-NET , GAT PAT


ใบงานที่ 2 : Blog คืออะไร ??

 
บล็อก (Blog) คือเว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียนไดอารี่ หรือ บันทึกส่วนตัว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเราใช้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน
- คำว่า "Blog" มาจากคำเต็มว่า "Weblog" (ตัด We ทิ้ง คงเหลือแต่ blog) ซึ่งโดยนัยแล้วหมายถึง การบันทึกข้อมูล(Log) บน เว็บ(Web) นั่นเอง 
- โดยผู้ที่เขียนบล๊อกเป็นอาชีพ จะถูกเรียกกันว่า "บล็อกเกอร์" (Blogger
- จุดเด่นที่สำคัญของ Blog คือ จะมีระบบที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันได้ โดยผ่านทางระบบ Comment ของบล๊อก


Blog ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

ทำBlog เป็นเว็บไซด์ส่วนตัว เพื่อแชร์ข้อมูลส่วนตัวให้กับผู้อื่นๆ เช่น บันทึกไดอารี่ 
เขียนBlog เพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ นำเสนอสิ่งที่ตนเองรู้ หรือสิ่งที่ตนเองสนใจ เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่น
สร้างBlog ทำเป็นเว็บไซด์เพื่อใช้ในการโปรโมทธุรกิจ ร้านค้า บริการต่างๆ
ใช้Blog ในการทำธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce)
- นอกจากนี้ Blog ยังเป็นช่องทางหนึ่งที่นิยมใช้กับเพื่อหารายได้จาก Internet Marketing


Blog กับ Website ต่างกันอย่างไร?

- เว็บไซด์ทั่วๆไปนั้น จำเป็นต้องมี Server, มี Host มี Domain Name เป็นของตนเอง ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ในส่วนของ Blog นั้นเราสามารถสมัครใช้บริการได้แบบฟรี เพียงแต่เราต้องใช้ชื่อ Domain ของผู้ให้บริการนั้นๆ เช่นของ Google คือ Blogger.com - โดเมนเนม ก็จะเป็น "ชื่อBlogของคุณ" ต่อท้ายด้วย "blogspot.com" เช่น JoJho-Problog.blogspot.com
- เว็บไซด์ทั่วไปจะมีความยืดหยุ่นสูงในการออกแบบ ดีไซน์ เพราะเราต้องสร้างเองทั้งหมด (ดังนั้นจะเลือกดีไซน์ยังไงก็ได้)
- แต่ Blog จะมีการดีไซน์ในรูปแบบเฉพาะเรียกว่า Blog Template ซึ่งมีให้เลือกมากมาย แต่ยังคงมีลักษณะโครงสร้างที่ค่อนข้างตายตัว ไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้มากตามใจชอบอย่างเว็บไซด์
- การสร้างเว็บไซด์ จำเป็นต้องมีทักษะความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากพอสมควร ทั้งในส่วนของภาษาคอมพิวเตอร์, โปรแกรมคอมติวเตอร์ต่างๆ ความรู้เบื้องต้นในเรื่องของ Network เป็นต้น แต่ Blog เพียงรู้หลักในการใช้เล็กน้อยเท่านั้น ก็สามารถสร้างเว็บไซด์ได้อย่างง่ายดาย

ข้อดี
- มีอิสระที่จะนำเสนอสิ่งต่างๆ (ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น และไม่ผิดกฎกติกาของผู้ให้บริการ Blog)
- เปิดโอกาสให้เจ้าของ Blog ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าชมและโต้ตอบกลับได้อย่างอิสระ
- ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านภาษาโปรแกรมต่างๆ 
- หากพอมีความรู้ด้านภาษาเว็บพื้นฐาน (HTML) จะสามารถช่วยทำให้เข้าไปแก้ไข Source Code ได้
เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบ Template ของ Blog ตามต้องการ

ข้อเสีย
- ฟังก์ชั่นและลูกเล่นต่างๆ ยังมีน้อยหากเทียบกับเว็บไซด์ที่สร้างเองหรือเว็บไซด์สำเร็จรูป
- แม้มีรูปแบบ Template ให้เลือกใช้มากมายแต่โครงสร้างเว็บก็ยังคงค่อนข้างตายตัว
- เนื่องจากเป็นบริการให้ใช้ฟรี หากเราทำผิดกฎของผู้ให้บริการ Blog เราจะถูกแบน และมีโอกาส
ถูกลบ Blog ได้ (แต่ถ้าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร ก็อยู่ได้อย่างยาวนานจนกว่าผู้บริการจะเลิกให้บริการ)


CR : http://www.jojho.com/2013/05/what-is-blog.html

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ใบงานที่ 6 : โครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์

แบบเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
รหัสวิชา ง33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสาร 6

ชื่อโครงงาน  ความหลากหลายทางชีวภาพไบโอมทุนดรา


 ชื่อผู้ทำโครงงาน

นางสาว อุนนดา วังทะพันธ์ ชั้น ม6/5 เลขที่ 28


ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน

ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์




ระยะเวลาดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2559

โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เชียงใหม่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมเขต 34









ใบงาน

การจัดทำข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์

คำชี้แจง  ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงงานตามหัวข้อต่อไปนี้

ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย) : ไบโอมทุนดรา

ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ) : tundra biome

ประเภทโครงงาน : โครงงานเพื่อการศึกษา
ชื่อผู้จัดทำ : นางสาวอุนนดา วังทะพันธ์
ชื่อครูที่ปรึกษา : ครูเขื่อนทองมูลวรรณ์
ระยะเวลาการดำเนินงาน : ภาคเรียนที่ 2

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
                 เนื่องด้วยข้าพเจ้าสนใจที่จะศึกษาในด้านภูมิประเทศและไบโอมที่แตกต่างไปจากที่ข้าพเจ้าเป็นอยู่ในปัจจุบัน จึงได้ทำการศึกษาเรื่อง ไบโอมทุนดรา ซึ่งมีอากาศหนาวเย็นผิดกับประเทศไทย จึงทำให้สนใจสิ่งมีชีวิต พืชพรรณ และองค์ประกอบต่างๆของไบโอมทุนดรานี้

วัตถุประสงค์
1. ศึกษาพันธุ์สัตว์ที่แตกต่าง
2.ศึกษาพรรณไม้แปลกใหม่
3.ศึกษาการเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของสัตว์ในไบโอมทุนดรา

ขอบเขตการศึกษา : การศึกษาไบโอมทุนดรา




ขั้นตอนและแผนดำเนินงาน

ลำดับ
ที่
ขั้นตอน
สัปดาห์ที่
ผู้รับผิดชอบ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17

1
คิดหัวข้อโครงงาน
/
/















อุนนดา
2
ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล


/
/
/












อุนนดา
3
จัดทำโครงร่างงาน





/
/
/
/








อุนนดา
4
ปฏิบัติการสร้างโครงงาน









/
/






อุนนดา
5
ปรับปรุงทดสอบ











/
/




อุนนดา
6
การทำเอกสารรายงาน













/
/


อุนนดา
7
ประเมินผลงาน















/

อุนนดา
8
นำเสนอโครงงาน
















/
 
   อุนนดา